ยิปซั่ม
คุณสมบัติและ ประโชยน์ของแร่ยิปซั่ม
ประโยชน์ของแร่ยิปซั่ม
สูตรทางเคมี Ca Do4 2H2O โดยประกอบด้วย ซัลเฟอร์ไฮดรอกไซด์ (SO3 46.5%) แคลเซี่ยมออกไซด์ (Cao 32.6% และน้ำ H2O 20.9%)การนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
ใช้เป็นตัวปรับสภาพดินเพื่อการเกษตรกรรม โดยการบดยิปซั่มแล้วโรยลงโดยตรง แคลเซี่ยมจากยิปซั่มสามารถแทนที่อนุมูลของโซเดียมในดิน ทำให้ความเค็มลดลง สามารถนำกลับไปใช้เพราะปลูกได้
เป็นตัวช่วยเติมธาตุอาหารรองให้ดินและพืช สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ยิปซั่ม (อังกฤษ: Gypsum) (CaSO4·2H2O) หรือเรียกว่าเกลือจืด เป็นแร่อโลหะที่มีความเปราะมากมีสีขาว ไม่มีสีหรือสีเทา มักมีสีเหลือง แดง หรือน้ำตาล เป็นมลทินปนอยู่ มีความวาวคล้ายแก้ว มุก หรือไหม ความแข็ง 2 ความถ่วงจำเพาะ 2.7 เนื้อแร่โปร่งใสจนกระทั่งโปร่งแสง อาจเรียกชื่อต่างกันออกไปตามลักษณะของเนื้อแร่ คือ ชนิดซาตินสปาร์ (satinspar) เป็นแร่ยิปซัมลักษณะที่เป็นเนื้อเสี้ยน มีความวาวคล้ายไหม ชนิดอะลาบาสเทอร์ (alabaster) มีเนื้อเป็นมวลเม็ดอัดกันแน่น และชนิดซีลีไนต์ (selenite) ใสไม่มีสี เนื้อแร่เป็นแผ่นบางโปร่งใส เกิดจากแร่ที่ตกตะกอนในแอ่งที่มีการระเหยของน้ำสูงมากและต่อเนื่อง ทำให้น้ำส่วนที่เหลือมีความเข้มข้นสูงขึ้น ถึงจุดที่แร่กลุ่มที่เรียกว่า “อีแวพอไรต์ (evaporites) ” จะสามารถตกตะกอนออกมาตามลำดับความสามารถในการละลาย (solubility) ซึ่งโดยทั่วไปเริ่มจากพวกคาร์บอเนต (carbonates) ซัลเฟต (sulphates) และเฮไลด์ (halides) การกำเนิด แร่ยิปซัมของไทยมีเนื้อเป็นเกล็ดเล็กๆ สมานแน่น เรียกว่า “อะลาบาสเตอร์ (alabaster) ” ซึ่งมิได้เกิดจากการตกตะกอนทับถมกันในสภาพการณ์ปฐมภูมิจากการระเหยของน้ำ แต่เกิดจากการเติมน้ำ (rehydration) ให้กับช่วงบนสุดของมวลแอนไฮไดรต์ จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ชนิดแร่ ยิปซัมในประเทศไทยมีประวัติที่ค่อนข้างซับซ้อน และการศึกษาธรณีวิทยาแหล่งแร่พบว่า เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงชนิดแร่ไปมา ระหว่างยิปซัมกับแอนไฮไดรต์ (CaSO4) หลายครั้ง (Utha-aroon and Ratanajarurak, 1996) ก่อนจะมีสภาพเช่นในปัจจุบัน
ยิปซัมอาจแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1) ยิปซัมชนิดที่เกิดตามธรรมชาติจากการตกตะกอนของทะเลเก่าที่เป็นแอ่งใหญ่ในใจกลางของพื้นที่ สำหรับไทยพบแหล่งยิปซัมในพื้นที่จังหวัดพิจิตร จังหวัดนครสวรรค์และในภาคใต้ และ
2) ยิปซัมชนิดที่เป็นผลพลอยได้ของอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยและที่เกิดจากการใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งได้แก่ยิปซัมที่เป็นผลพลอยได้จากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
ยิปซัม เป็นสารประกอบแคลเซี่ยมซัลเฟตมีโครงสร้างหลักประกอบด้วย แคลเซียมไอออน (Ca2+) ซัลเฟตไอออน (SO42-) และโมเลกุลของน้ำ (H2O) มีปฏิกริยาเป็นกลาง ละลายในน้ำได้ดีหรือค่อนข้างดี ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเนื้อยิปซัม จากโครงสร้างดังกล่าวจึงมีการนำไปใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร กล่าวคือ ใช้เป็นสารปรับสภาพดินกรดและดินเค็ม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดระดับความเป็นกรดและความเค็มในดิน ทำให้ดินมีความเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรมากขึ้น นอกจากนี้ทั้งแคลเซียมและกำมะถันจากยิปซัมยังเป็นธาตุอาหารที่สำคัญของพืชอีกด้วย
เนื่องจาก ยิปซัมมีองค์ประกอบที่เป็นธาตุอาหารพืชสำคัญ คือ ธาตุแคลเซียม (Ca) และธาตุกำมะถัน (S) ในปริมาณที่สูง จึงสามารถช่วยปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดินและเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ดีขึ้น ทำให้เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของพืช เนื่องจากธาตุแคลเซียมมีบทบาทสำคัญต่อการสร้างเซลล์และโครงสร้างของเซลล์ ส่วนธาตุกำมะถันเป็นธาตุอาหารพืชที่มีส่วนช่วยในการสร้างโปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของพืช นอกจากนี้ยังพบว่ามีปริมาณของจุลธาตุอื่น ๆ ที่ส่งเสริมและสนับสนุนต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชอีกด้วย (ปิยะ, 2553; American Coal Ash Association, 2015; Norton and Rhoton, 2007) เช่น ธาตุซิลิกอน (Si) ธาตุเหล็ก (Fe) และ ธาตุแมกนีเซียม (Mg) และการที่พืชได้รับธาตุอาหารพืชทั้งแคลเซียม แมกนีเซียม และจุลธาตุอื่น ๆ ยังมีส่วนช่วยเสริมความสมบูรณ์แข็งแรงและต้านทานโรคได้อีกด้วย