ติดต่อเรา

คุณสมบัติและประโยชน์ของแร่หินฟอสเฟต

ประโยชน์ของแร่หินฟอสเฟต

  1. เป็นแร่หินธรรมชาติ ผ่านการบดละเอียด ไม่ต่ำกว่า 100 เมธ
  2. องค์ประกอบหลักธาตุอากหารพืชฟอสฟอรัส และมีธาตุอาหารรอง แคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม
  3. เหมาะต่อการใช้เป็นปุ๋ยเชิงเดี่ยวชนิดผง หว่านที่แปลงเพื่อเตรียมดินแล้วไถกลบ หรือรองก้นหลุมก่อนปลูก
  4. ใช้เป็นส่วนประกอบเพิ่มประสิทธิภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก

หินฟอสเฟต (Rock Phosphate)
คือสารประกอบแคลเซียมฟอสเฟต ใช้ผสมปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุมหรือใส่แปลงผักตั้งแต่เตรียมดิน ช่วยให้พืชออกรากมากโตเร็ว ลดความเป็นกรดของดิน ช่วยให้ดินร่วนซุย เพิ่มแร่ธาตุในดินที่ละลายได้ให้มากขึ้น ผลพลอยได้ คือ จุลธาตุต่างๆ ที่ตกค้างในดินสามารถละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น

หินฟอสเฟต ในการเพาะปลูก
เคยถูกกล่าวถึงในหลายบทความ เช่น บทความ ‘การปลูกไผ่’ และเกษตรกรที่หันมาปลูกพืชผัก และทำนาข้าวแบบอินทรีย์จะรู้จักกับหินฟอสเฟตกันมาแล้วจากการนำมาใช้ในการเพาะปลูก และการนำปุ๋ยฟอสเฟตมาใช้บำรุงพืชผักและข้าวที่ปลูกในพื้นที่ บทความนี้ผู้เขียนขอแนะนำ หินฟอสเฟต ให้ท่านผู้อ่านรู้จักประโยชน์และการนำมาใช้ให้ได้ผลผลิตที่สูง และมีคุณภาพดี เหมือนๆ กับเกษตรกรท่านอื่นๆ ที่มีประสบการณ์การนำหินฟอสเฟตมาใช้

หินฟอสเฟต(Rock Phosphate)
หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า ร๊อคฟอสเฟตนั้น เป็นชื่อทางการค้าของแร่ฟอตเฟส (Mineral Phosphate) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการขุดแร่และกระบวนการถลุงแร่ที่มีธาตุฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ ธาตุฟอสฟอรัส จะช่วยกระตุ้นรากพืชให้เจริญอย่างรวดเร็วและทำให้พืชตั้งตัวได้เร็วขึ้น พืชมีความต้องการใช้มากในช่วงที่มีการออกดอก ผสมเกสร และในระยะที่เป็นผลแล้ว ถ้าในดินมีการสะสมธาตุฟอสฟอรัสและแคลเซียมน้อยพืชจะแสดงอาการขาดธาตุอาหารเหล่านี้ให้เห็นได้ทันที

การใช้หินฟอสเฟตในประเทศไทย การใช้หินฟอสเฟตในประเทศไทย มีที่มาหลายประการ
ความเสื่อมสภาพของดิน ในพื้นที่การเกษตร—สาเหตุมาจากการใช้วัสดุปูนหลายชนิด เช่น ปูนมาร์ล ปูนเปลือกหอย ปูนแคลเซียม ปูนเผา ปูนขาว โดโลไมท์ และฟอสเฟต ที่เหมาะต่อการนำไปใช้ในในเลือกสวนไร่นา ซึ่งที่ผ่านมานั้น ภาครัฐได้จำแนกแจกจายให้เกษตรกรนำไปใช้ปรับปรุงบำรุงดิน และโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การใช้วัสดุเหล่านี้กับดินที่มีค่าพีเอชเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชอยู่แล้วนั้นจะทำให้เกิดการสะสมด่างในดิน จากนั้นดินก็เกิดความเสียหายกลายเป็นดินด่าง ขาดความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในการปลูกพืช หรือเร่งการเจริญเติบโต เพราะปุ๋ยและธาตุอาหารบางตัวจะถูกจับตรึงไว้ และปล่อยไนโตรเจนให้สูญสลายไป ในทางกลับกัน ทำให้โมลิบดินั่ม แมกนีเซียม และซัลเฟอร์ละลายออกมามากจนเป็นอันตรายต่อพืชทำให้ใบไหม้ ผลเสียที่ตามมา คือ เกษตรกรต้องสิ้นเปลืองเงินในการแก้ไขปรับปรุงดินด่างให้กลับมาอยู่ในสภาพที่เป็นกรดอ่อน และใช้ระยะเวลานานในการฟื้นฟูสภาพดิน

สภาวะทางเศรษฐกิจ ราคาปุ๋ยที่สูงขึ้น และปัญหาปุ๋ยขาดตลาด จึงทำให้เกิดกาตื่นตัวค้นหาแหล่งแร่ฟอสเฟตอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา เพราะการนำเข้าแร่ฟอสเฟตจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย โมร็อคโก จีน ตูนีเซีย เป็นต้น มีต้นทุนที่สูง แหล่งแร่หินฟอสเฟตในประเทศไทยที่พบส่วนใหญ่เป็นหินฟอสเฟตที่เกิดจากซากสัตว์และมูลสัตว์ดึกดำบรรพ์ สะสมอยู่ตามแอ่งหินปูนและตามถ้ำบริเวณเทือกเขาหินปูนทั่วไปทั้งภาคเหนือ ภาคกลางและภาคใต้ของประเทศ แร่หินฟอสเฟตถูกพบมากที่สุดในปัจจุบันที่บ้านสบเมย อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน มีเปอร์เซ็นต์ฟอสฟอรัสทั้งหมด 38-39 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนับว่าเป็นหินฟอสเฟตที่มีฟอสเฟตสูงและคุณภาพดีเหมาะสำหรับใช้ทำปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตและดับเบิลซูเปอร์ฟอสเฟตได้ และพบหินฟอสเฟตมีมากอีกแห่งที่เขาก๊กม้า อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี แร่ที่นี่มีเปอร์เซ็นต์ฟอสเฟตประมาณ 10-40 เปอร์เซ็นต์ เมื่อประเทศไทยมีแหล่งทรัพยากรน้อย จึงเหมาะที่จะนำแร่ฟอสเฟตมาทำปุ๋ยบดละเอียดและใช้ใส่โดยตรง หรือนำมาแปรสภาพด้วยการเผาที่อุณหภูมิสูงหรือทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถันเป็นปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต