ติดต่อเรา

ตรวจสภาพดิน โดยห้อง Lap ของเราเอง 

ความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์ดิน ก่อนปลูกพืช หมายถึงการการตรวจสอบความสามารถของดินในการปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เพื่อการใช้ปุ๋ยและสารปรับปรุงดินได้ถูกต้องและไม่สินเปลือง และนำผลวิเคราะห์ไปใช้ให้ประโยชน์เพื่อผลผลิตและปริมาณการใส่ปุ๋ยที่คุ้มค่า

ขั้นตอนการวิเคราะห์ดิน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ

1) การเก็บตัวอย่างดิน
เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญที่สุด เนื่องจากตัวอย่างดินที่เก็บจะต้องเป็นตัวแทนที่ดีของพื้นที่ทั้งหมดจึงควร แบ่งพื้นที่ออกเป็น แปลงย่อยที่มีขอบเขตชัดเจนโดยภายในแปลงย่อยที่มีขอบเขตชัดเจนโดยภายในแปลงย่อยเดียวกันควรมีความแตกต่างกันน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย

2) การวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ
เป็นการวิเคราะห์ดินด้วยวิธีมาตรฐานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้อง

สามารถนำไปส่งด้วยตัวเอง หรือส่งผ่านไปรษณีย์ก็ได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

  • เข้าไปที่เว็บไซต์ https://osdldd.go.th/osdlab/register.php ของกรมพัฒนาที่ดิน
  • เลือกรายการที่ต้องการการวิเคราะห์ (รายการวิเคราะห์ที่ให้บริการเกษตรกรฟรีโดยจะขึ้นกับห้องปฎิบัติ) ซึ่งมีรายการดังนี้
    • ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (soil pH)
    • ความต้องการปูนเพื่อแก้ความเป็นกรด (lime requirement : LR)
    • การนำไฟฟ้าของดิน (EC) 1 : 5 ค่าความเค็มของดิน
    • อินทรียวัตถุ (organic matter) OM
    • ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดิน (available phosphorus) P
    • โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดิน (available potassium) K
    • แคลเซียมที่สกัดได้ในดิน (extractable calcium) Ca
    • แมกนีเซียมที่สกัดได้ในดิน (extractable magnesium) Mg
    • เนื้อดิน แยกอนุภาคทราย (sand) อนุภาคทรายแป้ง (silt) และอนุภาคดินเหนียว (clay)
  • กรอกข้อมูลผู้จัดส่ง เลือกที่อยู่ของแปลงจากแผนที่ เลือกรายละเอียดการเพาะปลูก
  • รอรับผลวิเคราะห์ภายใน 60 วัน

3) นำผลมาวิเคราะห์ดิน
ดินที่เราใช้ในการเพาะปลูก มีสภาพเป็นอย่างไร ขาดธาตุอาหารใดบ้าง เหมาะสมกับการปลูกพืชชนิดใด รวมทั้ง วางแผนในการปลูกระยะยาว

4) ใช้ปุ๋ยหรือสารปรับปรุงดินตามคำแนะนำ
การให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการจัดการที่ทำให้ ผลตอบแทนสูงในการปลูกพืช เช่น คำแนะนำเกี่ยวกับชนิดอัตราและวิธีการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม

หากเราได้ตรวจวิเคราะห์ดิน รู้ข้อมูลของดินที่ทำการเพาะปลูก นำมาวิเคราะห์ และจัดการได้อย่างเหมาะสมแล้ว เราจะสามารถลดต้นทุนการปลูก และสามารถช่วยให้เราทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนได้